ผชช.ปปส.ภ.7 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดราชบุรี (วาระพิเศษ) และร่วมชี้แจงมาตรการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด และแนวทางการปฏิบัติกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเสพยาเสพติด มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดฯ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดราชบุรี

เมื่อวันที่ : 10 ต.ค. 2565 00:00
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
16 ครั้ง

วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เวลา 14.00 น.  นายสำรวย วรเตชะคงคา ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 7 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดราชบุรี (วาระพิเศษ) และร่วมชี้แจงมาตรการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด และแนวทางการปฏิบัติกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเสพยาเสพติด มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดฯ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดราชบุรี โดยมีนายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานการประชุมฯ เเละส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อติดตามการปฏิบัติงานและผลการดำเนินงานด้านความมั่นคง 
โดยประธานในที่ประชุมมอบนโยบายที่สำคัญ ดังนี้
จากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่รัฐก่อเหตุใช้อาวุธกับประชาชนที่ จ.หนองบัวลำภู พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้จังหวัดทั่วประเทศ ทบทวนเรื่องการครอบครองอาวุธปืน และความเครียดของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งได้กำชับให้หน่วยงานความมั่นคง หัวหน้าหน่วยงานทุกระดับ ให้ความสำคัญทบทวนและกวดขันมาตรการควบคุมกำกับเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยงาน ที่ครอบครองมีและใช้อาวุธให้มากขึ้น ให้พิจารณาเพ่งเล็งเจ้าหน้าที่ที่มีความเครียด หรือมีอาการป่วยจากสภาวะทางจิตประสาท หรือจากปัญหายาเสพติด เพื่อแยกบำบัดรักษาและกำกับให้อยู่ในการดูแลของแพทย์จนปกติ ขอให้ความสำคัญไปถึงกระบวนการคัดกรองเข้ารับราชการ ที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับประวัติบุคคล เพื่อป้องกันมิให้มีการก่อเหตุรุนแรงทางสังคม โดยมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีประเด็น ดังนี้ 
1.ให้กำชับมาตรการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด Re X – Ray กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่อาจยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด เพื่อลด Demand และ Supply ของยาเสพติด พร้อมทั้งนำผู้ป่วยยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษา และเพิ่มความเข้มข้นการตรวจตรา ตั้งด่านชุมชนฯ เพื่อตรวจสารเสพติด เฝ้าระวังเหตุการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อสังคมและอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ
2.ให้คนในหมู่บ้านช่วยกันระวังภัย ทั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คนในชุมชน มีการสื่อสารหรือรายงานสถานการณ์ที่เป็นความเสี่ยงให้กับฝ่ายปกครองทราบเพื่อจะได้เตรียมการป้องกันก่อนเกิดเหตุ 
3.ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สนับสนุนการตั้งด่านชุมชนของกรมการปกครอง และเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ 
4.ให้ส่วนราชการระดับจังหวัด และอำเภอให้ความสำคัญกับกิจกรรมของหมู่บ้าน/ชุมชนกองทุนแม่ของแผ่นดิน ต้องไม่มีการยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างแท้จริง และเฝ้าระวัง รวมถึงขยายผลไปยังเครือข่ายต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ให้มีการยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 
5.กำชับให้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนด้วย หากพบว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขาดคุณสมบัติให้ดำเนินการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้นทันที
6. มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง รวมถึงตรวจตราสถานบันเทิงในทุกอำเภออย่างเข้มงวด

ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

YouTube TikTok search download
Q&A FAQ