วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2568 นายไกรเลิศ ดาวเรือง ผอ.ปปส.ภาค 7 และเจ้าหน้าที่ผู้ประสานจังหวัด เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ เพื่อทำให้ประชาชนมีความสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง รอง ผบ.ตร. ประธานอนุกรรมการ ณ ห้องประชุม ศปก.ตร. โดยประชุมผ่านระบบ zoom meeting ณ ห้องประชุมตำรวจภูธรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชั้น 3 ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย นายกิตติพงศ์ สุขภาคกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.ต.นครินทร์ สุคนธวิท ผบ.ก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ และนายสุธี เล้าสุบินประเสริฐ ปลัดจังหวัด ชุดปฏิบัติการตำรวจในพื้นที่ และหัวหน้าส่วนราชการ ตามคำสั่งคณะอนุกรรมการฯ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมประมาณ 100 คน เข้าร่วมประชุม ซึ่งสรุปการประชุม ดังนี้
1. นำเสนอสรุปผลการปฏิบัติภารกิจป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดตามโครงการจังหวัดต้นแบบจังหวัดร้อยเอ็ด และน่าน และพื้นที่ขยายจังหวัดเชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สกลนคร นราธิวาส ปทุมธานี อุทัยธานี ตรัง นครศรีธรรมราช และนครพนม รวม 12 จังหวัด
2. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำเสนอผลการดำเนินการแก้ปัญหาในพื้นที่ เพื่อทำให้ประชาชนมีความสุข จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ผลการดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 67 – 29 มี.ค. 68) ได้ขับเคลื่อนในพื้นที่ไข่แดง (อ.หัวหิน) ไข่ขาว (อ.ปราณบุรี) และขอบกระทะ 7 อำเภอ กิจกรรมการ Re X-ray ประชากรอายุ 12-65 ปี แล้วจำนวน 388,711 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.72 พบผู้เสพจำนวน 2,146 คน และนำเข้ากระบวนการบำบัดแล้ว 405 คน อยู่ระหว่างบำบัด 486 คน รักษาจิตเวช 11 คน รอเข้า CBTx 1,168 คน ดำเนินคดี 79 คน ทั้งนี้ได้ดำเนินการมาตรเชิงรุก 440 ราย ขยายผลได้ 364 ราย พร้อมนี้มีการสืบสวนขยายผลผู้ต้องขังในเรือนจำ และการตรวจเยี่ยมบุคคลพ้นโทษทั้งสิ้น 961 คน อีกทั้งมีการปฏิบัติการสืบสวนขยายผลเครือข่ายอีก 1,269 เครือข่าย รวมทั้งมีการสร้างภูมิคุ้มกันในสถานศึกษาจำนวน 286 แห่ง และกลุ่มสี่ยงนอกสถานศึกษา อีกทั้งอยู่ระหว่างการดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณตามที่ได้รับจัดสรรจำนวน 3 กิจกรรม
ในการนี้ พล.ต.อ.ไกรบุญฯ ได้เสนอแนะเรื่องเครือข่ายนักค้าที่พบในพื้นที่มีจำนวนมาก สามารถขอรับการสนับสนุนชุดปฏิบัติการจากกองปราบในการปฏิบัติการ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในพื้นที่แต่ละหน่วยดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงานให้ดำเนินการยึดกรอบแนวทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และสั่งการให้ อำเภอดำเนินการขับเคลื่อน รายงานผลการดำเนินงาน ให้ ศอ.ปส.จ. ตามระบบทุกสัปดาห์ กระบวนการบำบัดรักษาขอให้ปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามบริบทพื้นที่หรืออาจนำแนวทางดำเนินการในพื้นที่อื่นมาปรับใช้ได้ และกรณีการส่งต่อผู้บำบัดกลับชุมชนให้หน่วยงานปกครอง และตำรวจในพื้นที่ติดตาม และมอบหมายการดำเนินการกลุ่มประมงในพื้นที่จังหวัดโดยฝ่ายปกครองและตำรวจ