ปปส.ภ.7 เข้าร่วมประสานและร่วมหารือโครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ปี 2564 ณ บ้านบ่อหวี หมู่ 4 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

เมื่อวันที่ : 16 มิ.ย. 2564 10:00
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
16 ครั้ง

วันพุธที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 10.00 น.
 

ปปส.ภ.7 เข้าร่วมประสานและร่วมหารือโครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ปี 2564 ณ บ้านบ่อหวี หมู่ 4 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
 

โดยมีนายอดุล ถาวรกุล นายอำเภอสวนผึ้ง พ.ต.อ.ณวัฒน์ ศุกลรัตน์ ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรสวนผึ้ง
ปฎิบัติการตำรวจ ชุดปฎิบัติการกิจการพลเรือนกองกำลังสุรสีห์ ที่ 106   กองร้อยทหารพรานที่ 1108 ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมลงพื้นที่โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมให้ข้อมูลและนำเสนอการดำเนินงานป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านชุมชน และผู้แทน สนง.ปปส.ภาค 7 ได้ชี้แจงถึงแนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ปี 2564 และแนวทางการขอสนับสนุนงบเงินอุดหนุนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 
และได้ส่งมอบชุดตรวจหาสารเสพติด และมอบอุปกรณ์กีฬาต้านยาเสพติด แก่ ศป.ปส.สวนผึ้ง และ สภ.สวนผึ้ง รวมทั้งมอบสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับหมู่บ้านชุมชน
 
เวลา 13.30 น. เข้าร่วมประสานและร่วมหารือโครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ปี 2564 ณ รพ.สต.ผาปก อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี โดยชี้แจงถึงแนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ปี 2564 และได้ส่งมอบชุดตรวจหาสารเสพติด และมอบสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับ รพ.สต.ผาปก เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ต่อไป
 

 

เวลา 15.00 น. ประสานงานและร่วมหารือการบำบัดฟื้นฟูโดยมีส่วนร่วมของชุมชน (Community based treatment and rehabilitation: CBTx) อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี  และร่วมหารือแนวทางการขอรับทุนโครงการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด ปี 2564 ณ ที่ว่าการอำเภอบ้านคา โดยมี นายมนตรี โภคานิตย์ ปลัดอำเภอบ้านคา พร้อมด้วย นายนัฐยุทธ  ร่มโพรีย์ กำนันตำบลบ้านบึง/นายสมชัย มารักษา อดีตผอ.รพ.สต.บ้านโป่งกระทิงล่าง /ร้อยโท สมยศ ผู้แทน กอ.รมน. /นายปรีชา ชูชื่น นักวิชาการพัฒนาการชุมชนชำนาญการ และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรายละเอียดการหารือ ดังนี้
1.)​ ปี 2563 อำเภอบ้านคา ได้จัดทำการบำบัดรูปแบบชุมชนบำบัดฯ ซึ่งมีผู้เข้ารับการบำบัด จำนวน 11 ราย (แบ่งเป็น ชาย 10 /หญิง 1) 
2.)​โดยมีรูปแบบการบำบัด จัดเป็นโปรแกรม 6 ครั้ง ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยยาเสพติด /การทำกิจกรรมพัฒนาจิตอาสาทำความดี (ปลูกต้นไม้ ซ่อมผิวถนน เป็นต้น)​
3.)​ใช้การรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือก เช่น 
        -​ รักษาการถอนพิษ/ล้างพิษด้วยสมุนไพร/น้ำคลอโรฟิวล์ /ปัสสาวะ
        -​ การห่มแดด
        -​ กัวซา เป็นต้น
4.)​การแนะนำอาชีพ เช่น การเลี้ยงผึ้งชันโรง การทำเกษตรกรรม (เช่น วาดรูป/ผ้าบูติค และปลูกมันญี่ปุ่น/สัปปะรด/มะกรูด เป็นต้น)​
5.)​การติดตามผู้ผ่านการบำบัดฯ (ในห้วง 6 ครั้ง)​ สามารถติดตามตัวได้ 7 คน (พบไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด)​ และอยู่ระหว่างติดตามตัว 3 คน (ด้วยปัญหาการเเพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้มีข้อจำกัดในการติดตามฯ)​
ทั้งนี้ จะมีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจสภาพความเป็นอยู่และความพร้อมในการประกอบอาชีพของผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูฯ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาจัดสรรและกำกับติดตามงบประมาณเงินอุดหนุนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสนง.ปปส.ภ.7 ต่อไป
YouTube TikTok search download
Q&A FAQ