วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2562 เวลา 10.00 น.
ปปส.ภ.7 และคณะ ส่วนประสานพื้นที่ ร่วมสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลการรักษาโรคโดยใช้น้ำมันกัญชา ณ คลินิคกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยมี นางสาวอรวรรณ ชาครียสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ร่วมให้ข้อมูล สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. คลีนิคกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 เปิดบริการทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-16.30 น. มีผู้ป่วยมารับบริการประมาณ 120 คน รับบริการประมาณวันละ 10-20 คน เป็นคนมาจากหลากหลายจังหวัด เช่น ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาค 7 กทม. ภาคเหนือ ภาคอีสาน เป็นต้น
2. บุคลากรในคลีนิคมีจำนวน 3 คน ประกอบด้วย แพทย์ 1 คน เภสัชกร 1 คน และพยาบาล 1 คน
3. การรักษาด้วยน้ำมันกัญชา ประกอบด้วย 3 แผน
- แผนไทย จ่ายยา 2 ตำรับคือยาศุขไสยาสน์ (ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหารฟื้นฟูกำลัง) และยาทําลายพระสุเมรุ (บรรเทาอาการเกร็งกล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต)โรงพยาบาลมีให้ผู้รับบริการเป็นสมุนไพรลักษณะซองใช้ผสมน้ำเปล่า หรือน้ำผึ้ง
- แผนปัจจุบันได้รับน้ำมันกัญชาจากองค์การเภสัชกรรม (GPO) เป็นน้ำมันกัญชาประเภทแยกสารสกัด THC จ่ายน้ำมันกัญชาเพื่อการรักษา อาการอาเจียนจากเคมีบำบัด เจ็บปวดรุนแรง ผู้ป่วยระยะประคับประคอง ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งปัจจุบันทางโรงพยาบาลมีให้บริการ 1 ขวดมี 5 cc. วิธีการใช้ คือ ใช้ครึ่งหรือ 1 หยด โดยหยดใต้ลิ้น ปริมาณขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน หมอจะนัดทุก 2 สัปดาห์ (แต่ภายใน 3 วันแรกจะมีการติดตามอาการผู้ป่วย /น้ำมันกัญชาประเภทแยกสารสกัดเฉพาะ CBD ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการปลอกประสาทอักเสบ พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ฯลฯ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000บาทเศษ โรงพยาบาลอยู่ระหว่างรอรับยาจากองค์การเภสัชกรรมซึ่งจะเริ่มให้บริการประมาณห้วงปลายเดือนธันวาคม 2562
- สูตรอาจารย์เดชา อยู่ระหว่างการรอรับยาจากองค์การเภสัชกรรม
4. การเข้ารับบริการ ผู้ป่วยต้องได้รับการคัดกรอง ตรวจผลแลป กรอกแบบสอบถาม และลงชื่อรับทราบเงื่อนไขและยินยอมให้ติดตามผล โดยผู้ป่วย 1 ราย ต้องติดตาภายใน 3 วัน (ทางโทรศัพท์) และต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามทุก 2 อาทิตย์
5. การคิดค่ารักษาพยาบาล ไม่คิดเงินในส่วนของน้ำมันกัญชาสมุนไพรแบบซอง และสูตรอาจารย์เดชา ส่วนสารสกัดเฉพาะ THC ราคาประมาณ 500 บาท สารสกัด CBD ประมาณ 1,000บาทเศษ และค่าตรวจผลแลป เอ็กซเรย์ คิดค่าราคาปกติ
5. สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) สารสกัดกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษาซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้ในผู้ป่วยรับเคมีบำบัด โรคลมชัก ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภาวะปวดประสาทที่ใช้ที่ใช้วิธีการรักษาอื่นไม่ได้ผล 2)สารสกัดกัญชาน่าจะใช้ประโยชน์ในการควบคุมอาการซึ่งควรมีข้อมูลทางวิชาการหรืองานวิจัยเพิ่มเติ่มในประเด็นประสิทธิภาพและประสิทธิผลเช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ วิตกกังวล ปลอกประสาทอักเสบ ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โรคอื่นๆที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์ 3) สารสกัดกัญชาอาจมีประโยชน์ในการรักษา แต่ยังขาดข้อมูลทางการวิจัยสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอ ซึ่งต้องมีการศึกษาทดลองในสัตว์ทดลอง ก่อนนำมาศึกษาในมนุษย์ ได้แก่ การรักษามะเร็งชนิดต่าง ๆ และโรคอื่น ๆ ซึ่งไม่แนะนำให้ใช้สารสกัดกัญชาเป็นการรักษาเริ่มต้น
6. ข้อเสนอจากโรงพยาบาล คือ ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้เรื่องกัญชาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การปลูก ฯลฯ ให้ทั่วถึงและเข้าถึงประชาชนให้ได้มากที่สุด เนื่องจากในปัจจุบันโรงพยาบาลต้องรับรักษาผู้ป่วยที่ซื้อน้ำมันกัญชาจากตลาดมืด หรือช่องทางต่างๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต ทำให้เกิดผลข้างเคียง ต่างๆ จำนวนหลายราย รวมถึงการลักลอบเพาะปลูกกัญชา ฯลฯ
7. ในพื้นที่ภาค 7 มีโรงพยาบาลที่กำลังจะเปิดให้บริการคลีนิคกัญชาทางการแพทย์ ในห้วงเดือนธันวาคม ได้แก่ โรงพยาบาลสมุทรสาคร จังหวัดสมุทร และโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น
