วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ระหว่างเวลา 09.00 - 17.00 น. ปปส.ภ.7 และคณะ ร่วมตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนายแพทย์มนัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานการตรวจเยี่ยม และคณะตรวจเยี่ยมจาก สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติ บรมราชชนนี (สบ.ยช.) นำโดย นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผอ. สบ.ยช.และคณะ , ผู้อำนวยการสถาบันธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน ผู้อำนวยการสถาบันธัญญารักษ์สงขลา และผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรจังหวัดจังหวัด ร่วมตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน
สืบเนื่องจาก จังหวัดสุพรรณบุรี ได้คัดเลือกชุมชนบ้านเขาชะโอย หมู่ที่ 10 อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่นำร่องในการดำเนินการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วม โดยมีกระบวนการค้นหา คัดกรอง บำบัดฟื้นฟู การลดอันตรายจากยาเสพติด และการติดตามดูแลช่วยเหลือจากหน่วยงานทุกภาคส่วนโดยชุมชน เข้ามาดำเนินการร่วมกัน และได้ต่อยอดการดำเนินงานโดยจัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลช่วยเหลือผู้เสพผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยขยายผลการดำเนินงาน อีก 12 หมู่บ้านชุมชน ในพื้นที่ ๑๐ อำเภอ ของจังหวัดสุพรรณบุรี
กิจกรรมการตรวจเยี่ยม ในช่วงเช้า เป็นการชี้แจงวัตถุประสงค์การตรวจเยี่ยม และการสนับสนุนการดำเนินงานจาก สบ.ยช. และนำเสนอผลการดำเนินงานการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และเข้าตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินการบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วม หมู่ ๑๐ บ้านเขาชะโอย
สรุปข้อมูลพื้นที่ตรวจเยี่ยม ดังนี้ ชุมชนบ้านเขาชะโอย มีจำนวนครัวเรือน 101 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 410 คน โดยตัวหมู่บ้าน มีถนนสาย 340 ตัดผ่าน ทำให้ต้องแยกเป็น 2 ชุมชน ได้แก่
1. ชุมชนบ้านเขาชะโอย 2. ชุมชนบ้านเขาตะค้าน เป็นเหตุให้ยากต่อการปกครอง
สถานการณ์ในพื้นที่ มีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เคยเข้ารับการบำบัดรักษาแล้ว แต่ไม่หายขาด และมีผู้เสพผู้ติดที่ยังไม่เคยเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษา ชุมชนเคยเป็นหมู่บ้านประเภท ง ตามการประเมินของกรมการปกครอง มีความพยายามในการนำผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่กระบวนการบำบัดระบบสมัครใจมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556 และพัฒนาตามกระบวนการหมู่บ้านประชารัฐ และต่อยอดพัฒนาตามแนวคิด CBTx ปี 2560-2561 โดยดำเนินงานตามกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ
๑ สร้างภาคีเครือข่าย การประชุมประชาคม หาภาคีเครือข่าย เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ปกครอง โรงพยาบาล และ กศน.
2 สร้างโอกาส สร้างทีมงานธรรม จัดตั้งทีมงานธรรมชาติ โดยกรรมการ 1 คน ดูแล 4 - 5 ครัวเรือน ขั้นตอนที่
3 เปิดโอกาส โดยการดำเนินงานค้นหาคัดกรองผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดในชุมชน และสอบถามรูปแบบการสมัครใจเข้าบำบัด และหาวิธีช่วยเหลือผู้ใช้ยา
4 ให้โอกาส คือ ให้โอกาสผู้เลิกยาเสพติดเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนตามประเพณีวัฒนาธรรมของชุมชน ให้โอกาสทางการศึกษา และการประกอบอาชีพ
5 การป้องกัน การปรับสภาพแวดล้อม การส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และการจัดตั้งกลุ่มเด็กและเยาวชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด
ผลการดำเนินงานปัจจุบัน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 22 คน สามารถเลิกได้ มีงานทำ 18 คน ลดได้ 2 คน อยู่ระหว่างการเฝ้าระวังการลดอันตราย 1 คน และมีผู้เสพหน้าใหม่ เข้าร่วมโครงการการ 1 คน