สำนักงาน ปปส.ภาค 7 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอพนมทวน( ศป.ปส.อ.พนมทวน) ครั้งที่ 3/2560 ณ ที่ว่าการอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

เมื่อวันที่ : 4 เม.ย. 2560 10:00
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
0 ครั้ง

วันที่ 4 เมษายน 2560 เวลา 10.00 น. นางสาวสายสมร รอดแก้ว นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และนางสาวนยาวิ อินทรา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ทีมผู้ประสานงานจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงาน ปปส.ภาค 7 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอพนมทวน( ศป.ปส.อ.พนมทวน) ครั้งที่ 3/2560 ณ ที่ว่าการอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายอนุชา หอยสังข์ นายอำเภอพนมทวน เป็นประธานในที่ประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ สนง.สาธารณสุข สนง.พัฒนาชุมชน สนง.วัฒนธรรม และหน่วยงานจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวม 35 คน

ประเด็นสำคัญในที่ประชุม มีดังนี้
1.สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่อำเภอพนมทวน พบว่า ยังมีการพยายามลักลอบนำเข้าในพื้นที่ตำบลพังตรุ แนวเขตติดต่อด้านตำบลบ้านบ่อสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี
2.แนวโน้มการแพร่ระบาดยาเสพติด ยังคงที่กลุ่มเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา และนิยมใช้กัญชามากขึ้น
3.การดำเนินงานตามแผนประชารัฐร่วมใจสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนมั่นคง ปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ.2560 มีเป้าหมาย 51 หมู่บ้าน เริ่มดำเนินการในกระบวนการ 9 ขั้นตอน ตั้งแต่เดือน ต.ค.2559 - ส.ค.2560
4.การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดในระบบ Nispa และระบบ บสต. ขอให้เจ้าหน้าที่นำเข้าข้อมูลผลการดำเนินงานให้เป็นปัจจุบัน
5.การดำเนินการจัดทำค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดกาญจนบุรี เป้าหมายจำนวน 5 รุ่น 500 คน ซึ่งอำเภอพนมทวน รับผิดชอบเป้าหมายค้นหาคนเข้าบำบัด รุ่นที่ 5 เป้าหมาย 100 คน ร่วมกับอำเภอเลาขวัญ และอำเภอห้วยกระเจา
ทั้งนี้ ผู้แทน สนง.ปปส.ภ.7 ได้ชี้แจงนโยบาย ข้อราชการ แนวทางการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรค ดังนี้
1.การประเมินสถานะหมู่บ้าน ชุมชน ให้ ศป.ปส.อ. ร่วมกันทบทวนสถานะ ม/ช ให้ตรงกับสภาพปัญหาในพื้นที่ ซึ่ง ป.ป.ส. จะเปิดระบบให้มีการปรับปรุงข้อมูลอีกครั้งประมาณกลางเดือน เม.ย. 2560
2.การตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดผู้เข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารกองประจำการ ในวันที่ 7 เมษายน 2560 กรณี พบผู้เสพให้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด กรณีผู้ที่จับได้ใบดำ และใบแดงผลัดที่ 2 หากในห้วงนี้ไม่มีการจัดค่ายบำบัด ให้พิจารณาส่งเข้าบำบัดรักษาในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข และให้รายงานผลมาที่ สนง.ปปส.ภาค7
3. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเข้าข้อมูลผลการดำเนินงานในระบบ Nispa และระบบ บสต. อย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน
4.ชี้แจงแนวทางสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษา ด้านเงินทุนประกอบอาชีพ
5. ชี้แจงแนวทางการบำบัดรักษากรณีเยาวชนที่อายุน้อยกว่า 18 ปี

YouTube TikTok search download
Q&A FAQ