ชุดประสานงานจังหวัดสุพรรณบุรี ลงพื้นที่ร่วมกับชุดปฏิบัติการประจำตำบล อ.สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสืบสภาพชุมชน และพบปะผู้นำ

เมื่อวันที่ : 22 เม.ย. 2559 10:00
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
0 ครั้ง

วันที่ 22 เมษายน 2559 เวลา 10.00 น. นายศุภวัฒน์ แสงแก่ นักวิเคราะห์ฯ ชำนาญการ ว่าที่ร้อยตรีปกาสิต จันทรวงศ์ และนางสาวสายสมร รอดแก้ว นักวิเคราะห์ฯชำนาญการ เจ้าหน้าที่ชุดประสานงานจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับชุดปฏิบัติการประจำตำบล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี นำโดย นายสมโชค วณิชชาพลอย ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ) และคณะ ลงพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายนำร่องตามแผนประชารัฐสร้างหมู่บ้านชุมชน มั่นคงปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ. 2559 -2560 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสืบสภาพชุมชนและพบปะแกนนำ จำนวน 3 หมู่บ้าน สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. บ้านบางลี่เล็ก หมู่ที่ 1 ต. ศรีสำราญ สภาพพื้นที่เป็นชุมชนกึ่งเมืองขนาดเล็ก มีพื้นที่เข้าออกทางเดียว มีจำนวนครัวเรือน 94 ครัวเรือน ประชากร 400 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ปรากฏพื้นที่แหล่งมั่วสุมบริเวณริมถนนทางเข้าหมู่บ้าน/ชุมชน กลุ่มผู้เสพยาเสพติดเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ประกอบอาชีพรับจ้างในชุมชน ช่วงอายุระหว่าง 20 - 24 ปี และเป็นผู้เสพรายเก่า
2. บ้านรางกร่าง หมู่ที่ 2 ต.ศรีสำราญ สภาพพื้นที่เป็นชุมชน จำนวนครัวเรือน 283 ครัวเรือน ประชากร ประมาณ 1,300 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เกษตรกร เลี้ยงปลา/เลี้ยงไก่ ปรากฏปัญหากลุ่มวัยรุ่นมั่วสุม และขี่รถเสียงดัง มีผู้เสพรายเก่าที่เคยเข้ารับการบำบัดรักษา และผู้ค้ารายย่อย พื้นที่เสี่ยงในการมั่วสุมและจำหน่ายยาเสพติด จะเป็นบริเวณริมถนนข้างทาง เนื่องจากมีการลักลอบส่งยาเสพติดตามริมถนน โดยเป็นผู้ค้ารายย่อยจากพื้นที่อื่นนำเข้ามาส่ง
3. บ้านหนองโพธิ หมู่ที่ 6 ต.ศรีสำราญ สภาพพื้นที่เป็นชุมชนเมือง จำนวน 200 ครัวเรือน ประชากร 700 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และเกษตรกร ปรากฏแหล่งมั่วสุมยาเสพติดบริเวณจุดอับตามวัด โรงเรียน ปรากฏปัญหายาเสพติด เป็นผู้เสพรายเก่า และผู้ค้ารายย่อย ที่ยังคงมีพฤติการณ์อยู่ ช่วงอายุระหว่าง 15- 19 ปี ปรากฏมีประชากรแฝง (พม่า) เข้ามาทำงานประกอบอาชีพรับจ้าง ประมาณ 20 คน
4. บ้านวังตะกู หมู่ที่ 8 ต.ศรีสำราญ สภาพพื้นที่เป็นชุมชนชนบท จำนวน 145 ครัวเรือน ประชากร ประมาณ 1,300 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และเกษตรกร ปรากฏปัญหายาเสพติดกลุ่มผู้เสพในชุมชน และผู้ค้ารายย่อย ผู้นำชุมชนยังไม่กล้าเปิดเผยข้อมูลเนื่องจากกลัวว่าจะถูกกลุ่มผู้เสพกลั่นแกล้ง ทำลายพืชผลทางการเกษตร
** ข้อสังเกตผู้นำชุมชน ยังคงหวังพึ่งหน่วยงานภาครัฐในการจัดการปัญหายาเสพติด ไม่กล้าออกหน้า เพราะเกรงกลัวว่าจะเป็นภัยต่อตนเองและครอบครัว ปัญหายาเสพติดโดยรวมเป็นกลุ่มผู้เสพรายเดิม ที่เคยเข้ารับการบำบัด และยังคงมีพฤติการณ์ ซึ่งทางทีมชุดปฏิบัติการประจำตำบล จะนำสภาพพื้นที่ และสภาพปัญหาของชุมชน มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการดำเนินงานต่อไป

YouTube TikTok search download
Q&A FAQ