วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 นายสำรวย วรเตชะคงคา ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 7 และคณะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ศอ.ปส.จ.รบ. เร่งรัด ติดตาม การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ครั้งที่ 7/2567 ณ ห้องประชุมแม่กลอง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดราชบุรี โดยมีนายไกรธวัช ทินโสม ปลัดจังหวัดราชบุรี เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม รวมจำนวน 50 คน สรุปการประชุม ดังนี้
1. ผู้แทน ปปส.ภ.7 รายงานนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและเเก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้
1.1 สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ภาค 7 ในห้วง 9 เดือนแรก ปีงบประมาณ 2567 และแนวโน้มและการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาค 7
1.2 การดำเนินงานต่อเรื่องร้องเรียน ปปส.ภ.7 ปี 2567 (1 ต.ค. 2566 - 12 ก.ค. 2567)
1.3 ผลการดำเนินงานศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในพื้นที่ภาค 7
1.4 นโยบาย/ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีในการบูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติด
1.5 แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการสื่อสาร สร้างสรรค์ รู้เท่าทันยาบ้า (BE SMART SAY NO TO DRUGS)
เพิ่มเติม ประเด็นให้สำรวจความจำเป็นในการใช้เครื่อง X-ray ยาเสพติดเพื่อปฏิบัติงานด้านยาเสพติดในจังหวัด ซึ่งประเมินจากสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ และถนนที่มักถูกพบว่าเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านปราบปราม ป้องกัน และบำบัดรักษายาเสพติด ได้รายงานผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่รับผิดชอบให้ที่ประชุมทราบ
ทั้งนี้ ประธานเน้นย้ำที่ประชุมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ตามแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะเร่งด่วน 3 เดือน (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2567) โดยมี 8 มาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 มาตรการค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด และผู้ค้ายาเสพติด โดยให้มีการปฏิบัติการ Re X-ray และการจัดทำบัญชี รายชื่อผู้กระทำ ความผิดเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
มาตรการที่ 2 มาตรการประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วม โดยให้มีการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้นโยบายของรัฐบาลและผลการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างทั่วถึง และเปิดช่องทางให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
มาตรการที่ 3 มาตรการป้องกัน โดยขับเคลื่อน การพัฒนาหมู่บ้านตามแนวทางโครงการ "หมู่บ้าน ยั่งยืน (Sustainable Village)" สร้างการรับรู้และภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้แก่ประชาชนไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ตลอดจนในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน รวมทั้งมีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
มาตรการที่ 4 มาตรการปราบปราม เป็นการสืบสวนปราบปรามพร้อมทั้งยึดทรัพย์สิน เพื่อตัดวงจรยาเสพติด รวมทั้งการสกัดกั้น การลักลอบ ลำเลียงยาเสพติด เข้าสู่ในพื้นที่
มาตรการที่ 5 มาตรการบำบัดรักษา ตามแนวคิด “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” รวมทั้งจัดตั้งสถานที่ทำการฟื้นฟู/พักคอย สำหรับผู้ป่วยยาเสพติด
มาตรการที่ 6 มาตรการฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
มาตรการที่ 7 การติดตาม และประเมินผลทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระยะเร่งด่วน 3 เดือน (ก.ค. - ก.ย. 2567)