วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 13.30 น. ปปส.ภ.7 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยจังหวัดสมุทรสาคร ครั้งที่ 11/2565 ณ ห้องประชุมพันท้ายนรสิงห์ (401) ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีนายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 80 คน ซึ่งการประชุมคณะกรรมการรักษาความมั่นคงจังหวัดฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบรายงานสถานการณ์ด้านการข่าว ผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคงในพื้นที่ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบและก่อให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยภายในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร การประชุมดังกล่าวมีผู้แทนส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานสถานการณ์ความมั่นคงฯ และผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการเฝ้าระวังปัญหาด้านความมั่นคงฯ
ต่อมาในเวลา 15.30 น. เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสมุทรสาคร (ศอ.ปส.จ.สค.) ครั้งที่ 11/2565 ณ ห้องประชุมพันท้ายนรสิงห์ (401) ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีนายสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 80 คน สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งงานด้านปราบปราม ป้องกัน และบำบัดรักษายาเสพติด ได้รายงานผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่รับผิดชอบในห้วงเดือนพฤศจิกายน 2565
2. ผู้แทน ปปส.ภ.7 รายงานผลความคืบหน้า และแจ้งที่ประชุม ดังนี้
2.1 นโยบายสำคัญ/จุดเน้น/การขับเคลื่อนงานดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ส.
- แผนปฏิบัติการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระยะเร่งด่วน 3 เดือน (1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มกราคม 2566) ตามคำสั่ง ศอ.ปส. ที่ 11/2565 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 โดยมี 7 จุดเน้นการปฏิบัติ ประกอบด้วย
1) ตรวจสอบ ควบคุมการนำเข้า และส่งออกสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่นำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาเสพติด อาทิ โซเดียมไซยาไนด์
2) สืบสวน ขยายผล ทำลายเครือข่ายนักค้ายาเสพติด และยึด อายัดทรัพย์สิน โดยมีเป้าหมาย 100,000 ล้านบาท
3) จัดตั้งศูนย์กลางการบูรณาการข้อมูลด้านยาเสพติดแห่งชาติ โดยสำนักงาน ป.ป.ส. ได้ร่วมกับหน่วยงานบูรณาการเพื่อประสารเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน
4) ตรวจสอบ ติดตามและดำเนินการตามข้อร้องเรียนของประชาชนผ่านสายด่วน 1386
5) ค้นหา คัดกรอง ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด และผู้มีอาการทางจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา โดยร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย
6) ลดความเดือดร้อนจากปัญหายาเสพติด และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน เพิ่มบทบาทหมู่บ้าน/ชุมชน และผู้นำในพื้นที่ให้เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติด
7) จัดการปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร “หนองบัวลำภูต้นแบบจังหวัดสีขาวปลอดยาเสพติด” สร้างต้นแบบในการจัดการปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 งบประมาณตามแผนบูรณาการฯ พ.ศ.2566 จำแนกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
1) ด้านการป้องกัน จำนวน 1,405,360,000 บาท หน่วยดำเนินการ 20 หน่วยงาน
2) ด้านการปราบปราม จำนวน 1,631,792,800 บาท หน่วยดำเนินการ 10 หน่วยงาน
3) ด้านการบำบัดรักษา จำนวน 1,150,390,800 บาท หน่วยดำเนินการ 12 หน่วยงาน
3. จากกรณี “หนองบัวลำภูต้นแบบจังหวัดสีขาวปลอดยาเสพติด” ประธานฯ ได้ให้ฝ่ายเลขาฯ ศอ.ปส.จ./ศป.ปส.อ. ทั้ง 3 อำเภอ/ปปส. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมจัดทำแผนการตรวจหาสารเสพติดเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน รวมทั้งบุคลากรในสถานศึกษา/ชุมชน/วัด และสถานประกอบกิจการต่างๆ

