ปปส.ภ.7 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเพชรบุรี (ศอ.ปส.จ.พบ.) ครั้งที่ 12/2565 ณ ห้องประชุมพริบพรี ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อวันที่ : 26 ธ.ค. 2565 03:00
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
27 ครั้ง
วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15.00 น. ปปส.ภ.7 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเพชรบุรี (ศอ.ปส.จ.พบ.) ครั้งที่ 12/2565 ณ ห้องประชุมพริบพรี ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี อ.เมือง จ.เพชรบุรี โดยนายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พ.ต.อ.กานต์ ธรรมเกษม รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี และผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 50 คน โดยสรุปประเด็นการประชุม ดังนี้
 1. ผู้แทน ปปส.ภ.7 นำเสนอข้อมูลสถานการณ์ และนโยบาย/ข้อสั่งการ ดังนี้
  1.1 สถานการณ์ยาเสพติดพื้นที่ภาค 7 ในห้วงเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยพื้นที่ภาค 7 ยังคงเป็นพื้นที่พักยาชั่วคราวหรือพักคอย เพื่อลำเลียงไปสู่พื้นที่อื่น โดยเฉพาะเป็นเส้นทางลำเลียงผ่านของยาเสพติดลงสู่ภาคใต้ และเป็นพื้นที่พักยาหรือเก็บยาเพื่อจำหน่ายในพื้นที่ โดยจะนัดรับตามจุดนัดหมายและชำระเงินโดยการโอน และนำเสนอลักษณะการหีบห่อและบรรจุ
  1.2 ความคืบหน้าการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โดยเน้นความคืบหน้าอนุบัญญัติภายใต้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม พ.ศ. ... ซึ่งมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2565 อนุมัติหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
  1.3 ประกาศสำนักงาน ป.ป.ส. เรื่อง กำหนดแบบบันทึกการตรวจหรือทดสอบสารเสพติดในร่างกาย การตรวจสอบพฤติการณ์และสอบถามความสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา พ.ศ. 2565 
  1.4 ตัวชี้วัดแผนบูรณาการ ป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีทั้งหมด 5 ตัวชี้วัด โดยถ่ายทอดสู่ระดับจังหวัด 4 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
   - ร้อยละ 97 ของประชากรทุกช่วงวัยไม่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
   - ร้อยละ 98 ของประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายตามแผนได้รับการป้องกันยาเสพติด (วัดเฉพาะระดับหน่วยงาน)
   - ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้รับการดูแลติดตามอย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Retention Rate)
   - ร้อยละ 70 ของผู้เสพที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้รับการพัฒนาพฤตินิสัย
   - ดำเนินการพัฒนาหน่วยบริการบำบัด (ศูนย์คัดกรอง/สถานพยาบาล/สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด/ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม) ให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด ร้อยละ 90  
 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเสนอผลการปฏิบัติ/การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2566
 3. ประธานเน้นย้ำและให้ความสำคัญกับนโยบายยาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ และมอบแนวทางการดำเนินงาน โดยเน้นแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดตามกลุ่มอาการ/ระดับการติดยาเสพติด (เขียว เหลือง แดง) โดยเฉพาะกลุ่มสีแดง ซึ่งเป็นกลุ่ม SMIV/Hardcore เพื่อลดผลกระทบต่อความสงบสุขของสังคม/ประเทศชาติ และฝากสำนักงาน ป.ป.ส. นำประเด็นข้อขัดข้อง/อุปสรรคในการดำเนินการในระดับพื้นที่ เสนอระดับนโยบายเพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุงให้สามารถดำเนินการได้ตามเจตนารมณ์และแนวนโยบายที่กำหนดต่อไป
YouTube TikTok search download
Q&A FAQ