ปปส.ภ.7 และคณะ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ ศอ.ปส.จ.กจ. และประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมแควใหญ่ ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี

เมื่อวันที่ : 29 ธ.ค. 2565 01:30
หน่วยงาน : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 7
29 ครั้ง
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา เวลา ๑๓.๓๐ น. ปปส.ภ.7 และคณะ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ ศอ.ปส.จ.กจ. และประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมแควใหญ่ ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี โดยมี นายกองเอก พงศธร ศิริสาคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ประธานการประชุม พร้อมด้วยหน่วยงานส่วนราชการในพื้นที่ จำนวน ๖๐ คน สรุปสาระสำคัญของการประชุม มีดังนี้
๑.) ผู้แทน ปปส.ภ.๗ รายงานนโยบายการขับเคลื่อนงานฯ ดังนี้
      ๑.๑ นโยบายสำคัญ/จุดเน้น/การขับเคลื่อนงานดำเนินงานของ สนง.ปปส. ของเดือนธันวาคม ๒๕๖๕
            ๑.๑.๑ ประชาสัมพันธ์การร่วมทำกิจกรรมทางศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรมหาวัชรราชธิดา
       ๑.๑.๒ ความคืบหน้าการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โดยเน้นความคืบหน้าอนุบัญญัติภายใต้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๔ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฟื้นฟูสภาพทางสังคม พ.ศ. ... ซึ่งมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ อนุมัติหลักการตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
        ๑.๑.๓ การตัดโอนงบประมาณลงสู่พื้นที่ระดับจังหวัด (กรมการปกครอง) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ปี ๒๕๖๖ งวดที่ ๑ ห้วง ๖ เดือนแรก ( ๑ ต.ค. ๖๕- ๓๑ มี.ค. ๖๖)
      ๑.๑.๔  ตัวชี้วัดแผนบูรณาการ ป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งมีทั้งหมด ๕ ตัวชี้วัด โดยถ่ายทอดสู่ระดับจังหวัด ๔ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
      - ร้อยละ ๙๗ ของประชากรทุกช่วงวัยไม่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
     - ร้อยละ ๙๘ ของประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายตามแผนได้รับการป้องกันยาเสพติด (วัดเฉพาะระดับหน่วยงาน)
     - ร้อยละ ๖๐ ของผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้รับการดูแลติดตามอย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Retention Rate)
     - ร้อยละ ๗๐ ของผู้เสพที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้รับการพัฒนาพฤตินิสัย
     - ดำเนินการพัฒนาหน่วยบริการบำบัด (ศูนย์คัดกรอง/สถานพยาบาล/สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด/ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม) ให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด ร้อยละ ๙๐  
      ๑.๑.๕ ขอความร่วมมือการนำเข้าข้อมูลกำลังพลผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
     ๑.๑.๖ สรุปผลการดำเนินงานต่อเรื่องร้องเรียน ปปส.ภ.๗ ปี ๒๕๖๕ (๑ ต.ค.๖๕- ๒๓ ธ.ค. ๖๕)
ทั้งนี้ ปปส.ภ.๗ ได้มอบรายชื่อผู้ถูกร้องเรียนฯ พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี (๑ ต.ค.๖๕ – ๒๖ ธ.ค. ๖๕) แก่ประธานที่ประชุม เพื่อพิจารณาเร่งรัดการดำเนินงานต่อเรื่องร้องเรียนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีต่อไป
 
๒) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งงานด้านปราบปราม ป้องกัน และบำบัดรักษายาเสพติด ได้รายงานผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในห้วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ในพื้นที่รับผิดชอบให้ที่ประชุมทราบ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านยาเสพติดในพื้นที่ร่วมกัน 
 - ที่ประชุมได้หารือการนำผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดในพื้นที่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสมและถูกวิธีตามขั้นตอน เพื่อแก้ไขและลดปัญหาการคลุ้มคลั่งจิตเวช/อาการรุนแรงทางจิตอันเนื่องมาจากการเสพยาเสพติด ที่มีผลกระทบต่อประชาชนและสังคม
 
๓ ) ที่ประชุมได้เห็นชอบการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติด (สาขาระดับอำเภอ) ทั้ง ๑๓ อำเภอ โดยให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ เพื่อเป็นการรองรับและเป็นการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนกลไกการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ และครอบคลุมทั่วทั้ง ๑๓ อำเภอ ของจังหวัดกาญจนบุรี
YouTube TikTok search download
Q&A FAQ